ตะกรัน

       ตะกรัน คือ กลุ่มหินปูนจำพวกเกลือแคลเซียมและแมกนีเซียมหรือซิลิก้า ตามปกติจะพบมากในกลุ่มเกลือแคลเซียมและแมกนีเซียมคารบอเนต (CaCO3 และ MgCO3) ซึ่งเกิดบริเวณพื้นผิวถ่ายเทความร้อน เช่น คอนเดนเซอร์หรือชุดแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ลักษณะเป็นของแข็งคล้ายหิน

   สาเหตุของการเกิดตะกรัน คือ :

  • คุณภาพน้ำที่เติมเข้าระบบ Cooling Tower ไม่ดีพอ เช่น มีค่า TDS, HARDNESS สูงเกินไปทำให้มีโอกาสเกิดตะกรันได้ง่าย
     
  • การใช้สารเคมีในการป้องกันตะกรันและตะไคร่น้ำ เนื่องจากสารเคมีตกค้างทำให้สิ่งปนเปื้อนในน้ำมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการกัดกร่อนและเกิดตะกรัน
     
  • อัตราการหมุนเวียนของน้ำในระบบสูง ทำให้อัตราการระเหยของน้ำสูงจึงเกิดตะกรัน
     
  • การขาดการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี เช่น ไม่ถ่ายน้ำปล่อยให้ Cooling Tower สกปรกก็เป็นสาเหตุของตะกรันได้

ตะไคร่น้ำ

         ตะไคร่น้ำ คือ กลุ่มของสาหร่ายเซลล์เดียวหรือสาหร่ายชนิดอื่นๆ รวมกันซึ่งรวมถึงขี้แดดที่อยู่ในน้ำ เมื่อมีจำนวนมากจะก่อให้เกิดความสกปรกและสร้างเส้นใยเกิดการอุดตันเส้นท่อหรือ Heat Exchanger ได้

 

   สาเหตุของการเกิดสาหร่าย คือ :

  • Cooling Tower ตั้งอยู่ในจุดที่ได้รับแสงแดด ทำให้กลุ่มตะไคร่น้ำสังเคราะห์แสงและเจริญเติบโตได้

     
  • อุณหภูมิพอเหมาะแก่การเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำ
     
  • ไม่มีสารเคมีที่ออกฤทธิ์ในการยับยั้งหรือทำลายตะไคร่น้ำ

         จุลชีพในอากาศ ที่ปนเปื้อนในระบบน้ำหล่อเย็น จะก่อให้เกิดเมือกในระบบท่อ และจุดแลกเปลี่ยน
ความร้อน ทำให้สารละลายที่อยู่ในน้ำ สามารถเกาะติด ยึดติดกับเมือกและเพิ่มปริมาณมากขึ้น ซึ่งเราเรียก “ตะกรัน”

....................................................................

การสูญเสียพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากตะกรัน ในระบบ
HEAT EXCHANGER, CONDENSER

ความหนาของตะกรัน
(นิ้ว)

ประสิทธิภาพสูญเสีย
(%)

1/64

4

1/32

7

1/16

11

1/8

18

3/16

27

1/4

38

3/8

48

1/2

60

5/8

74

3/4

90

การใช้สารเคมีบำบัด เป็นค่าใช้จ่ายสินเปลือง และไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ

ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ทำความสะอาดท่อ และจุดแลกเปลี่ยนความร้อน